หาหมอจีน…ทำไมต้องแมะ?

“แมะ หรือ พะแมะ” ในภาษาจีนกลางก็คือ ม่าย (脉) มาจากคำว่า ป่าม่าย (把脉) ซึ่งก็หมายถึงการจับชีพจรในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการ โดยที่ชีพจรจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ

ชีพจรเกิดจากการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาศัยการทำงานของหยางหัวใจและชี่หัวใจ โดยมีเลือดและหยินหัวใจเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ยังต้องมีอวัยวะปอดเป็นตัวผลักดัน เกี่ยวข้องกับอวัยวะม้ามซึ่งควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด อวัยวะตับเป็นแหล่งกักเก็บเลือด อวัยวะไตเป็นแหล่งกักเก็บสารจิงซึ่งเป็นสารจำเป็นในร่างกาย สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเลือดได้

จากการที่ชีพจรมีส่วนเกี่ยวข้องกับอวัยวะดังที่กล่าวมานี้ การที่แพทย์จีนจับชีพจร (แมะ) จึงหมายถึงความเชื่อมโยงของระบบอวัยวะทั่วร่างกายได้

ดังนั้นเมื่ออวัยวะต่างๆทำงานไม่ปกติ เลือดและลมปราณมีไม่เพียงพอ หรือไหลเวียนไม่สะดวก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้รู้สึกว่าไม่สบายอะไรสักเท่าไหร่ หรือรู้สึกไม่สบายแต่ไปโรงพยาบาลตรวจร่างกายแล้วไม่พบปัญหาอะไร แต่ว่าสามารถสะท้อนออกมาได้ในชีพจร หรือที่เรียกว่า “ชีพจรป่วยแต่คนยังไม่ป่วย

ส่วนนี้คือจุดเด่นของศาสตร์การแพทย์แพทย์จีน ทำให้แพทย์จีนสามารถรับรู้ ตรวจวินิจฉัยได้ว่าตอนนี้ผู้ป่วยมีความผิดปกติอย่างไร จะสามารถดูแลตัวเองได้ก่อนที่จะเป็นโรคหนักๆ

การแมะเป็นการอาศัยความรู้สึกโดยการสัมผัสลักษณะการเต้นของชีพจร โดยที่ชีพจรในแต่ละตำแหน่งจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะบ่งบอกถึงพลังของแต่ละอวัยวะ โดยในการแมะนั้น หมอจีนจะใช้นิ้วมือทั้งสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) สามนิ้วเรียงติดกันความห่างให้พอเหมาะกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้การจับชีพจรที่ข้อมือซ้ายกับขวาก็มีความหมายแตกต่างกันไปอีก

ด้านขวาจะหมายถึง
ตำแหน่งสีน้ำตาล ⇒ ปอด
ตำแหน่งสีส้ม ⇒ ม้าม
ตำแหน่งสีน้ำเงิน ⇒ ไตหยาง

ด้านซ้ายจะหมายถึง
ตำแหน่งสีแดง ⇒ หัวใจ
ตำแหน่งสีเขียว ⇒ ตับ
ตำแหน่งสีน้ำเงิน ⇒ ไตอิน