Author Archives: admin

สัญญาณเตือนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดขึ้นจากเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณสันหลังได้รับแรงกดหรือแรงกระแทก ทำให้เนื้อเยื่อชั้นนอกค่อยๆถูกทำลายหรือฉีกขาด เนื้อในที่อยู่ในหมอนรองกระดูกถูกดันออกมา และไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังของหมอนรองกระดูก พบได้บ่อยในกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 4-5

แพทย์แผนจีนได้จัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อยจากเส้นลมปราณติดขัด ซึ่งมีสาเหตุจากพลังลมปราณพร่องลงตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่ง กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ตามหลักการวินิจฉัยอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ส่วนพิษของลมและเย็นชื้น ที่สะสมในเส้นลมปราณจะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และ กระดูกจะได้รับการหล่อเลี้ยงเลือดลมไม่เพียงพอจึงเสื่อมลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆอย่าง

การดูแลโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้นและมิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเลือดออกในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย

ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดี แต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมา

วิธีการบำบัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบบองค์รวมของการแพทย์จีน

ฝังเข็มทะลวงหลอดเลือดและเส้นลมปราณและสลายเลือดคั่ง ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณโล่งขึ้น เส้นเอ็นกล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น เพื่อลดอาการปวดและหยุดยั้งการลุกลามของโรค เสริมสร้างพลังลมปราณ ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด อาการปวดทุเลาลงหรือดีขึ้นในที่สุด

การฝังเข็มภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ยังช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดกระตุ้นการฟื้นตัวของเส้นเอ็น ช่วยคลายกล้ามเนื้อไม่ให้หดเกร็งเพื่อยับยั้งการเจ็บปวดครับ

หาหมอจีน…ทำไมต้องแมะ?

“แมะ หรือ พะแมะ” ในภาษาจีนกลางก็คือ ม่าย (脉) มาจากคำว่า ป่าม่าย (把脉) ซึ่งก็หมายถึงการจับชีพจรในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการ โดยที่ชีพจรจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ

ชีพจรเกิดจากการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาศัยการทำงานของหยางหัวใจและชี่หัวใจ โดยมีเลือดและหยินหัวใจเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ยังต้องมีอวัยวะปอดเป็นตัวผลักดัน เกี่ยวข้องกับอวัยวะม้ามซึ่งควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด อวัยวะตับเป็นแหล่งกักเก็บเลือด อวัยวะไตเป็นแหล่งกักเก็บสารจิงซึ่งเป็นสารจำเป็นในร่างกาย สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเลือดได้

จากการที่ชีพจรมีส่วนเกี่ยวข้องกับอวัยวะดังที่กล่าวมานี้ การที่แพทย์จีนจับชีพจร (แมะ) จึงหมายถึงความเชื่อมโยงของระบบอวัยวะทั่วร่างกายได้

ดังนั้นเมื่ออวัยวะต่างๆทำงานไม่ปกติ เลือดและลมปราณมีไม่เพียงพอ หรือไหลเวียนไม่สะดวก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้รู้สึกว่าไม่สบายอะไรสักเท่าไหร่ หรือรู้สึกไม่สบายแต่ไปโรงพยาบาลตรวจร่างกายแล้วไม่พบปัญหาอะไร แต่ว่าสามารถสะท้อนออกมาได้ในชีพจร หรือที่เรียกว่า “ชีพจรป่วยแต่คนยังไม่ป่วย

ส่วนนี้คือจุดเด่นของศาสตร์การแพทย์แพทย์จีน ทำให้แพทย์จีนสามารถรับรู้ ตรวจวินิจฉัยได้ว่าตอนนี้ผู้ป่วยมีความผิดปกติอย่างไร จะสามารถดูแลตัวเองได้ก่อนที่จะเป็นโรคหนักๆ

การแมะเป็นการอาศัยความรู้สึกโดยการสัมผัสลักษณะการเต้นของชีพจร โดยที่ชีพจรในแต่ละตำแหน่งจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะบ่งบอกถึงพลังของแต่ละอวัยวะ โดยในการแมะนั้น หมอจีนจะใช้นิ้วมือทั้งสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) สามนิ้วเรียงติดกันความห่างให้พอเหมาะกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้การจับชีพจรที่ข้อมือซ้ายกับขวาก็มีความหมายแตกต่างกันไปอีก

ด้านขวาจะหมายถึง
ตำแหน่งสีน้ำตาล ⇒ ปอด
ตำแหน่งสีส้ม ⇒ ม้าม
ตำแหน่งสีน้ำเงิน ⇒ ไตหยาง

ด้านซ้ายจะหมายถึง
ตำแหน่งสีแดง ⇒ หัวใจ
ตำแหน่งสีเขียว ⇒ ตับ
ตำแหน่งสีน้ำเงิน ⇒ ไตอิน

ทฤษฎีปัญจธาตุ

ทฤษฎีปัญจธาตุ” ถือว่าเป็นหนึ่งในแนวทางของการแพทย์แผนจีนซึ่งใช้ในการอธิบายถึงสรีรวิทยา การเกิดโรคและการดูแลสุขภาพร่างกาย

ปัญจธาตุ” 五行 หรือ “อู่สิง” เป็นทฤษฏีเก่าแก่ของจีน บรรยายถึงวัตถุทั้งหลายในจักรวาลประกอบด้วยลักษณะของ “ไม้ – ไฟ – ดิน – ทอง – น้ำ” เป็นพื้นฐาน มีการให้กำเนิดเกื้อกูล ข่มยับยั้งระหว่างลักษณะทั้งห้า เพื่อให้ระบบภายในอยู่ได้อย่างสมดุล

ธาตุไม้
งอตรงเหมือนกิ่งไม้ มีหัวงอตรงเป็นปล้อง แผ่กระจายเหมือนกิ่งไม้ยืดสาขากระจายออกไปเรื่อย ๆ กระจายออกด้านนอก ความหมายคือ งอ ยืด ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี เอ็น

ธาตุไฟ
ให้ความอบอุ่น ความร้อนลอยขึ้นบน ได้แก่ หัวใจ ลำไส้เล็ก

ธาตุดิน
ให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง ดินเป็นมารดาของสรรพสิ่ง ทุกอย่างมาจากดิน ดินเป็นสิ่งที่สรรพสิ่งต้องกลับคืนสู่ สังกัดอยู่ได้กับ 4 ธาตุที่เหลือ ได้แก่ ม้าม กระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ

ธาตุทอง
สามารถแปรสลายแยกออกจากกัน เช่น แยกทองออกมาจากแร่ดิน แสดงความแข็งแกร่งของโลหะ ดูดซับสารบริสุทธิ์ ทิศทางกระจายและลง ได้แก่ ปอด และ ลำไส้ใหญ่

ธาตุน้ำ
จำศีล หลีกเร้น เก็บซ่อน ให้ความชุ่มชื้น ทิศทางลงล่าง หนาวเย็น ได้แก่ ไต และ กระเพาะปัสสาวะ

ถ้าอยากดูแลสุขภาพดีแบบองค์รวม ที่เฟิ้งฮวง คลินิก พร้อมดูแลด้วยการฝังเข็ม ครอบแก้วบำบัด ยาสมุนไพรจีน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนครับ ⁣

อารมณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกาย

หลักทฤษฎีปัญจธาตุสามารถใช้แทนถึงความสัมพันธ์ของหลายสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและร่างกายของมนุษย์เรา อาทิ ฤดูกาล รสชาติ สีสัน ทิศทาง อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และรวมถึง “อารมณ์ทั้ง 7” (อารมณ์ที่สังกัดธาตุทั้ง 5) ดังนี้ 

อารมณ์โกรธ ส่งผลต่อตับ ทำให้ชี่และหยางของตับลอยขึ้นบน เกิดความร้อนหรือไฟขึ้นเผาผลาญเลือดในตับที่สะสมไว้ ซึ่งเรามักจะเห็นผู้ที่มีอารมณ์โกรธจนหน้าแดง ในบางรายอาจมีอาการปวดสีข้างร่วมด้วย เป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “โกรธจนปวดตับ” นั่นเอง

อารมณ์ดีใจ ส่งผลต่อหัวใจ โดยอารมณ์ดีใจที่พอประมาณ ทำให้ชี่ผ่อนคลายลง หากดีใจสุดขีดจะทำให้การกำกับสติความนึกคิดของหัวใจเสียไป และจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช่ตัวเรา หรือที่เราชอบพูดกันว่า “ดีใจจนกระโดดโลดเต้น”

อารมณ์ตกใจ ส่งผลให้การไหลเวียนของชี่สับสน ผู้ที่ตกใจจึงมีอาการตัวแข็งทำอะไรไม่ถูกและใจสั่น หากตกใจมากๆจะทำลายชี่ของหัวใจซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

อารมณ์ครุ่นคิด ส่งผลต่อม้าม เพราะการครุ่นคิดมาก ๆ จะทำให้การทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารลดลง พลังชี่ติดขัด เกิดอาการไม่สบายท้องและเบื่ออาหาร หรือที่เรามักจะได้ยินใคร ๆ พูดกันเป็นประจำว่า “เครียดลงกระเพาะ” หรือ “เครียดจนไม่เป็นอันกินอันนอน”

อารมณ์เสียใจ และ อารมณ์กลัดกลุ้ม ส่งผลต่อปอด เนื่องจากปอดจะกำกับดูแลพลังชี่ทั่วร่างกาย ดังนั้น เมื่อเราเสียใจหรือกลัดกลุ้มจะทำให้พลังชี่ในปอดไม่สามารถระบายออกไปได้ โดยหากเรามีอารมณ์เศร้าเสียใจเป็นระยะเวลานานๆ พลังของปอดจะถูกทำลาย เนื่องจากพลังชี่เป็นพลังขับเคลื่อนของชีวิต ผู้ที่เสียใจหรือกลัดกลุ้มมาก ๆ จึงรู้สึกหมดเรี่ยวแรง หมดอาลัยตายอยาก บางคนอาจถึงขั้นตรอมใจตายเลยก็มี เหมือนกับที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆว่า “เสียใจจนแทบขาดใจตาย”

อารมณ์กลัว ส่งผลต่อไต ทำให้สารจิง (สารตั้งต้นตั้งแต่กำเนิด) และพลังชี่ดึงรั้งลงของไตสูญเสียไป เมื่อชี่เดินเลือดจะไหลเวียน (ชี่ผลักดันให้เลือดเคลื่อนที่) แต่หากชี่ไตดึงรั้งลงล่างย่อมจะนำพาเลือดให้ไหลลงตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ที่มีอาการกลัวสุดขีดจึงมักมีอาการหน้าซีด หน้ามืด เป็นลม ผมร่วง เหมือนกับคำพูดที่เราเคยได้ยินว่า “กลัวจนจับไข้หัวโกร๋น” โดยชี่ของไตจะดูดรั้งควบคุมปัสสาวะและอุจจาระ และการที่เกิดความกลัวอย่างเฉียบพลันรุนแรงจะทำร้ายไต ทำให้การกักเก็บปัสสาวะและอุจจาระในร่างกายสูญเสียไป เกิดอาการปัสสาวะหรืออุจจาระราด ดั่งคำที่ว่า “กลัวจนฉี่ราด” นั่นเอง

ฉลองครบรอบ 1 ปี และต้อนรับเทศกาลตรุษจีน รับส่วนลด 11%

ฉลองครบรอบ 1 ปี
และต้อนรับเทศกาลตรุษจีน

โปรโมชั่นสุดฮอตกลับมาแล้ว!
จัดเต็มรับส่วนลด 11% ทุกรายการ

เฉพาะโปรแกรมฝังเข็ม 10 ครั้ง ได้รับฟรีครอบแก้วอีก 5 ครั้ง

ตั้งแต่วันที่ 11 – 25 ม.ค. 63